วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

DRU MODEL


DRU Model 


          D คือการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
          R คือขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
          U คือการตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้


หลักการของ DRU Mode
         
          1. หลักปรัชญาการสอน ใช้หลักปรัชญาการสอนตามแนวคิด ทฤษฎีสรรค์นิยม
          2. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ( learner centered learning) การเรียนรู้โดยใช้การวิจัย เป็นฐานะ และการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน (cooperative learning)
          3. การประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง (authentic assessment) และกำหนดคุณภาพตามแนวคิด SOLO Taxonomy ร่วมกับแนวคิดกำรออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสำกล (Universal Design for Learning and Assessment)


DRU Model มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

          ขั้น D: Diagnosis of needs (การวินิจฉัยและออกแบบการเรียนรู้ ) 
                           เป็นขั้นให้นักศึกษาวินิจฉัยและตัดสินใจในการวางแผนและออกแบบการเรียนรู้โดยนักศึกษาสามารถกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้และกำหนดภาระงานตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดได้สามารถออกแบบ       การจัดการเรียนรู้นำเสนอเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งในขั้น D: Diagnosis of needs ประกอบด้วยขั้น ตอน 6 ขั้น คือ
          1) การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs)
          2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives)
          3) การเลือกเนื้อหา (selection of content)
          4) การบริหารจัดระบบเนื้อหา (organization of content)
          5) การเลือกประสบการณ์ให้ผู้เรียน (selection of learning experiences)
          6) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences)     ซึ่งการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์หลักสูตรวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุอย่างชัดเจน แล้วจึงเลือกเนื้อหาสาระโดยพิจารณาความต่อเนื่องความยากง่ายและความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ กลวิธีการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมายดังกล่าว
         
          ขั้น R: Research in effective learning environment
(การใช้วิจัยเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ซึ่งในที่นี้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้หมายถึงการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ) 

เป็นขั้นที่นักศึกษานำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการปฏิบัติการเรียนรู้โดยนักศึกษาใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในการกำกับติดตามการปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ (Monitoring the Execution of knowledge) หรือการสร้างความรู้ใหม่และมีความกระจ่างชัด (Monitoring Clarity) และมีความถูกต้องเม่นยา (Monitoring Accuracy) ซึ่งในขั้นตอนนี้นักศึกษาจะมีการเลือกรับและทำความเข้าใจข้อมูลใหม่ทำให้นักศึกษามีการรู้คิด (meta cognition) และกำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในขั้น R: Research in effective learning environment ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น คือ
          1) วิเคราะห์ปัญหา
          2) วางแผนแก้ปัญหา
          3) จัดกิจกรรมแก้ปัญหา
          4) เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล
          5) สรุปผลการแก้ปัญหา

          ขั้น U: Universal Design for learning

เป็นขั้นการประเมินตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้องและนา ความรู้ใหม่ที่ได้รับจากขั้น R: Research in effective learning environment ไปใช้ในการวางแผนและออกแบบการเรียนรู้ใหม่และมีการกำกับติดตามโดยการกำกับติดตามนั้น ต้องมีความถูกต้องเม่นยา (Monitoring Accuracy) ซึ่งเป็นไปตาม Meta Cognitive System ของมาร์ซาโน